วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 4 การเรียน SPSS

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่เรียน Spss เป็นเครื่องมือสำหรับจัดกระทำข้อมูล สามารถนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลมาประมวลผลด้วยตารางสร้างกราฟและวิเคราะห์ทางสถิติที่หลากหลาย ถ้าผู้วิเคราะห์ต้างการใช้โปรแกรม SPSS ดำเนินการจัดการกับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์จะต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้โปรแกรม SPSS กระทำตามที่ผู้วิเคราะห์ต้องการ โดยมีส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน คือ โปรแกรมและข้อมูลจากแบบประเมินหรือแบบสอบถาม
โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ( Statistical Package ) เป็นโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยตรง ในระยะแรกโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีไม่มากนักและมีใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม โปรแกรมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โปรแกรมสำเร็จรูป SAS ( Statistical Analysis System ) และโปรแกรมสำเร็จรูป BMDP (Biomedical Computer Program)
        ในปัจจุบันนี้ได้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้การ ประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะมีความสะดวกมากกว่า จึงทำให้มีผู้ผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น ซึ่งมีทั้งโปรแกรมขนาดเล็กที่วิเคราะห์สถิติเฉพาะอย่าง และโปรแกรมขนาดใหญ่ที่สามารถวิเคราะห์สถิติหลายประเภท ได้แก่ โปรแกรม SPSS SAS และ BMDP ได้ถูกพัฒนามาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กันดังนี้
        โปรแกรม SPSS   สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    SPSS/PC + , SPSS FOR WINDOWS
        โปรแกรม SAS      สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    SAS ON PC DOS
        โปรแกรม BMDP  สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    BMDP-PC
  โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติอาจจำแนกตามองค์ประกอบของโปรแกรมได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        1. โปรแกรมเบ็ดเสร็จ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบบอเนกประสงค์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติทุกประเภท โดยทั่วไปแล้วจะเป็นโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรม SPSS/PC , SAS , BMDP-PC , GENSTAT , MINITAB และ STATA เป็นต้น
       2. โปรแกรมที่เน้นเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อเน้นการวิเคราะห์เชิงสถิติประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
            -  โปรแกรมสำหรับกำหนดการเชิงเส้น ( Linear Programming) เช่น โปรแกรม LINDO โปรแกรม GINO โปรแกรม LINGO
            -  โปรแกรมที่เน้นการพยากรณ์ของข้อมูลอนุกรมเวลา เช่น โปรแกรม TSP ( Time Series Program )
            -  โปรแกรมที่เน้นทางด้าน Statistical Modeling เช่น โปรแกรม GLIM
  ลักษณะการใช้งานของโปรแกรมทางสถิติ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
       1. โปรแกรมชนิดสั่งให้ทำงานด้วยคำสั่ง ( Command Driven) ก่อนที่จะใช้โปรแกรมชนิดนี้ผู้ใช้จะต้องศึกษาคำสั่ง( Commands) ต่างๆให้เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงเขียนชุดคำสั่งเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ เช่น SPSS/PC , MINITAB , SAS และ STATA เป็นต้น
       2. โปรแกรมชนิดสั่งให้ทำงานโดยอาศัยเมนู ( Menu Driven) โปรแกรมประเภทนี้จะใช้งานง่ายกว่าโปรแกรมชนิดคำสั่ง จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทั้งนี้เนื่องจาก โปรแกรมประเภทนี้จะแสดงรายการต่างๆออกทางหน้าจอ แล้วให้ผู้ใช้เลือกว่าต้องการใช้รายการใด เช่น โปรแกรม STATPACK , SPSS for Windows
แหล่งอ้างอิง : http://tsl.tsu.ac.th/courseware/math2/lesson1/less1_3.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น