วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 5 การทำแผ่นพับ และ SPSS

การทำแผ่นพับ


สัปดาห์ที่ 4 การเรียน SPSS

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่เรียน Spss เป็นเครื่องมือสำหรับจัดกระทำข้อมูล สามารถนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลมาประมวลผลด้วยตารางสร้างกราฟและวิเคราะห์ทางสถิติที่หลากหลาย ถ้าผู้วิเคราะห์ต้างการใช้โปรแกรม SPSS ดำเนินการจัดการกับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์จะต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้โปรแกรม SPSS กระทำตามที่ผู้วิเคราะห์ต้องการ โดยมีส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน คือ โปรแกรมและข้อมูลจากแบบประเมินหรือแบบสอบถาม
โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ( Statistical Package ) เป็นโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยตรง ในระยะแรกโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีไม่มากนักและมีใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม โปรแกรมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โปรแกรมสำเร็จรูป SAS ( Statistical Analysis System ) และโปรแกรมสำเร็จรูป BMDP (Biomedical Computer Program)
        ในปัจจุบันนี้ได้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้การ ประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะมีความสะดวกมากกว่า จึงทำให้มีผู้ผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น ซึ่งมีทั้งโปรแกรมขนาดเล็กที่วิเคราะห์สถิติเฉพาะอย่าง และโปรแกรมขนาดใหญ่ที่สามารถวิเคราะห์สถิติหลายประเภท ได้แก่ โปรแกรม SPSS SAS และ BMDP ได้ถูกพัฒนามาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กันดังนี้
        โปรแกรม SPSS   สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    SPSS/PC + , SPSS FOR WINDOWS
        โปรแกรม SAS      สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    SAS ON PC DOS
        โปรแกรม BMDP  สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    BMDP-PC
  โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติอาจจำแนกตามองค์ประกอบของโปรแกรมได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
        1. โปรแกรมเบ็ดเสร็จ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบบอเนกประสงค์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติทุกประเภท โดยทั่วไปแล้วจะเป็นโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรม SPSS/PC , SAS , BMDP-PC , GENSTAT , MINITAB และ STATA เป็นต้น
       2. โปรแกรมที่เน้นเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อเน้นการวิเคราะห์เชิงสถิติประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
            -  โปรแกรมสำหรับกำหนดการเชิงเส้น ( Linear Programming) เช่น โปรแกรม LINDO โปรแกรม GINO โปรแกรม LINGO
            -  โปรแกรมที่เน้นการพยากรณ์ของข้อมูลอนุกรมเวลา เช่น โปรแกรม TSP ( Time Series Program )
            -  โปรแกรมที่เน้นทางด้าน Statistical Modeling เช่น โปรแกรม GLIM
  ลักษณะการใช้งานของโปรแกรมทางสถิติ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
       1. โปรแกรมชนิดสั่งให้ทำงานด้วยคำสั่ง ( Command Driven) ก่อนที่จะใช้โปรแกรมชนิดนี้ผู้ใช้จะต้องศึกษาคำสั่ง( Commands) ต่างๆให้เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงเขียนชุดคำสั่งเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ เช่น SPSS/PC , MINITAB , SAS และ STATA เป็นต้น
       2. โปรแกรมชนิดสั่งให้ทำงานโดยอาศัยเมนู ( Menu Driven) โปรแกรมประเภทนี้จะใช้งานง่ายกว่าโปรแกรมชนิดคำสั่ง จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทั้งนี้เนื่องจาก โปรแกรมประเภทนี้จะแสดงรายการต่างๆออกทางหน้าจอ แล้วให้ผู้ใช้เลือกว่าต้องการใช้รายการใด เช่น โปรแกรม STATPACK , SPSS for Windows
แหล่งอ้างอิง : http://tsl.tsu.ac.th/courseware/math2/lesson1/less1_3.htm


วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3 การเรียน spss


วันนี้อาจารย์จิระ  ประสพธรรม สอน SPSS มันเป็นสิ่งที่เราต้องการใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล  ข้อมูลพอสังเขป ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทุกสาขา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ หรืองานวิจัย หรือ Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญามหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิต ในสถาบันที่ศึกษาอยู่ ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ หรือครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ แต่ในการทำวิจัยทางสาขาการวัดผลและวิจัยการศึกษา ข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อันจะเห็นได้จาก รุ่นของโปรแกรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบัน SPSS for Windows พัฒนามาถึงรุ่นที่ 13 แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่คู่มือการใช้โปรแกรมจะต้องมีการพัฒนาตามให้ทัน เพื่อเสนอคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโปรแกรมและคุณสมบัติใหม่ที่ปรากฏในโปรแกรมรุ่นใหม่ ให้ผู้ใช้ได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องกับลักษณะงานวิจัยของตนเอกสารชุดนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้บ้างไม่มากก็น้อย หากท่านใดที่อ่านแล้วพบข้อผิดพลาด หรืออยากเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในครั้งต่อไป ผู้เขียนก็ยินดียิ่ง และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

บทที่ 1 บทนำ 
1. ความหมายของสถิติ 
2. ประเภทของสถิติ 
3. ระดับการวัด 
4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
5. ตัวแปร 
6. ชนิดของตัวแปร 
7. สมมติฐาน 
8. โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 
9. การเตรียมเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล 
10. การพิจารณาความมีนัยสำคัญทางสถิติ 
11. แฟ้มที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ข้อมูล 
12. การใช้ภาษาไทยในโปรแกรม SPSS 10.0 for Windows 
13. การนิยามตัวแปร 
14. การบันทึกแฟ้มข้อมูล 
15. การเปิดแฟ้มข้อมูล 
16. การวิเคราะห์ข้อมูล 
17. การปิดโปรแกรม
บทที่ 2 การแจกแจงความถี่สถิติพื้นฐาน 
1. การแจกแจงความถี่และหาสถิติพื้นฐาน 
2. การหาค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปร 
3. การหาค่าสถิติพื้นฐานของกลุ่มย่อย 
4. การแจกแจงความถี่แบบหลายทาง
บทที่ 3 การจัดกระทำกับข้อมูล 
1 การแปลงค่าข้อมูล 
2 การเลือกข้อมูล 
3 การเพิ่มลดข้อมูล 
4 การรับข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลชนิดอื่น
บทที่ 4 การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง : t-test 
1. การวิเคราะห์กรณีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกับประชากร หรือค่าคงที่ในทฤษฎี 
2. การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน 
3. การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน
บทที่ 5 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
บทที่ 6 การคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ 
1. การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย 
2. สหสัมพันธ์แยกส่วน
บทที่ 7 การหาคุณภาพเครื่องมือวัด 
1. การหาอำนาจจำแนกโดยใช้ t-test 
2. ความเชื่อมั่น 
3. การหาสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม 
4. การวิเคราะห์ข้อสอบเลือกตอบ (p, r, delta) 
5. การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย (p, r)
บทที่ 8 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง
บทที่ 9 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 
1. การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย 
2. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 
3. การทดสอบนัยสำคัญ 
4. วิธีการคัดเลือกตัวแปร 
5. SPSS for Windows 
6. การคัดเลือกตัวแปรด้วยวิธี Blockwise Selection
บทที่ 10 การทดสอบสถิติไร้พารามิเตอร์ 
1. กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว 
2. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน 
3. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน 
4. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน 
5. การทดสอบกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
บทที่ 11 การวิเคราะห์องค์ประกอบ
บทที่ 12 การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นบางประการของสถิติ 
1. คะแนนจะต้องมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ 
2. ความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน 
3. ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง 
4. ตัวแปรอิสระแต่ละตัวต้องไม่มีความสัมพันธ์กัน
บทที่ 13 การวิเคราะห์รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง 
1. รูปแบบสุ่มสมบูรณ์ 
2. รูปแบบกลุ่มสุ่ม 
3. รูปแบบแฟคทอเรียล 
4. Nested Design 
5. รูปแบบจัตุรัสลาติน 
6. Split-Plot Design 
7. รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 
8.รูปแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measure Design)
บทที่ 14 การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรและการวิเคราะห์จำแนกประเภท
บทที่ 15 การจัดกระทำกับตาราง Output ใน SPSS 10.0 for Windows 
1. การเลือกรูปแบบตาราง 
2. การสลับแถวและสดมภ์ 
3. การตัดสดมภ์ที่ไม่ต้องการออก 
4. การเปลี่ยนแปลงลักษณะตาราง 
5. การจัดตำแหน่งของค่าในตาราง 
6. การกำหนดแบบอักษรให้กราฟ 
7. การนำตารางผลการวิเคราะห์ไปใส่ในเอกสาร MS Word
บทที่ 16 การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลนำเข้าที่อยู่ในรูปของเมตริก
แหล่งที่มา : http://www.watpon.com/spss/ 
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1spss&biw=1366&bih=643&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0CAcQ_AUoAWoVChMIr_nI3oSNyAIVwx2UCh1fdwwZ